Bodyslam Save My Life Concert - คนมีตังค์
วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันลอยกระทง
ประวัติวันลอยกระทงของไทย
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย
ความเชื่อเกื่ยวกับวันลอยกระทง
- เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ
- เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
- เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
- ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพญามารได้
วิธีทำ กระทง ใบตอง
แบบที่ 1 กลีบผกา
วิธีทำ
1. ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ
2. พับตามรูป จำนวน 3 กลีบ จากนั้นนำมาวางซ้อนให้ลดหลั่นกันไปตามภาพ ซึ่งจะนับเป็น 1 ตับ
3. นำไปติดโดยรอบที่ขอบของฐานกระทง ซึ่งเป็นต้นกล้วยตัดเป็นแว่น ความหนา 1.5 - 2 นิ้ว โดยประมาณ ทั้งนี้ปริมาณของกลีบกระทงที่ใช้จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของตัวฐาน
4. จากนั้นประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป เป็นอันเสร็จ
แบบที่ 2 กลีบกุหลาบ
วิธีทำ
1. ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ
2. พับเป็นกลีบกุหลาบตามรูป จำนวน 3 กลีบ จากนั้นนำมาสวมเีัรียงกันให้มีระยะห่างพองามตามความชอบ ควรจัดให้ยอดของกลีบ และลอนของกลีบตรงเสมอเป็นแนวเดียว ซึ่งจะทำให้ผลงานออกมาดูสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย
3. ใช้ด้ายสีเขียวใกล้เคียงกับใบตอง หรือสีดำมาเย็บติดกันด้วยด้นถอยหลังให้เป็นแนวตรงเสมอกันโดยตลอด
4. พับกลีบใบตองแล้วเย็บต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถหุ้มขอบของฐานกระทงได้โดยรอบ ตรึงกลับใบตองกับฐานของกระทงด้วยหมุด แล้วขลิบส่วนที่เลยพ้นฐานลงมาให้เรียบร้อยเสมอกับฐาน เมื่อทำเสร็จแล้วจะมีลักษณะคล้ายกับมงกุฏสวมศีรษะ
5. จากนั้นประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป เป็นอันเสร็จ
แบบที่ 3 หัวขวาน
วิธีทำ
1. ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ
2. พับตามรูป จำนวน 3 กลีบ จากนั้นนำมาสวมเีัรียงกันให้มีระยะห่างพองามตามความชอบ เพื่อให้ผลงานออกมาดูสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย ควรพับแต่ละกลีบให้ได้ขนาดเท่ากันทุกจุด
3. ใช้ด้ายสีเขียวใกล้เคียงกับใบตอง หรือสีดำมาเย็บติดกันด้วยด้นถอยหลังให้เป็นแนวตรงเสมอกันโดยตลอด
4. พับกลีบใบตองแล้วเย็บต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถหุ้มขอบของฐานกระทงได้โดยรอบ ตรึงกลับใบตองกับฐานของกระทงด้วยหมุด แล้วขลิบส่วนที่เลยพ้นฐานลงมาให้เรียบร้อยเสมอกับฐาน เมื่อทำเสร็จแล้วจะมีลักษณะคล้ายอ่างน้ำ
5. จากนั้นประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป เป็นอันเสร็จ
สามารถนำการพับใบตองรูปแบบนี้ไปใช้ร่วมกับการพับรูปแบบอื่นๆ ในผลงานชิ้นเดียวกันได้ตามความชอบ และความคิดดัดแปลง
ส่วนตอนที่จะนำไปลอยนั้น บางคนอาจจะตัดเล็บ และผมใส่ลงไปด้วย ตามความเชื่อว่าเป็นการขจัดสิ่งร้ายๆ ให้ออกไปจากตัวเรา หรือจะใส่เหรียญลงไปด้วย เพื่อนำมาซึ่งความมั่งคั่งตามความเชื่อก็ได้นะคะ
ส่วนของตัวกระทง ใช้หยวกกล้วย หรือวัตถุที่ย่อยสลายได้ตัดให้เป็นวงโดยสูงประมาณ1-2.5 นิ้ว ส่วนขนาดแล้วแต่ความพอใจ ขั้นตอนต่อคือการนำเอาใบตองมาพับเป็นรูปทรงต่างๆ เพื่อประดิษฐ์เป็นกระทง
ส่วนของตัวกระทง ใช้หยวกกล้วย หรือวัตถุที่ย่อยสลายได้ตัดให้เป็นวงโดยสูงประมาณ1-2.5 นิ้ว ส่วนขนาดแล้วแต่ความพอใจ ขั้นตอนต่อคือการนำเอาใบตองมาพับเป็นรูปทรงต่างๆ เพื่อประดิษฐ์เป็นกระทง
วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
สงขลาแต่แรก
ย่านเมืองเก่าสงขลา
ย่านเมืองเก่าสงขลาตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง มีถนนสายสำคัญน่าเดินเที่ยว 3 สาย คือ ถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงาม เมื่ออดีตราว 200 ปีก่อน ตัวเมืองสงขลาตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ เรียกว่า "เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน" จนกระทั่งพ.ศ. 2385 จึงขยายมาทางฝั่งทิศตะวันออกบริเวณตำบลบ่อยาง เรียกกันว่า "เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง" โดยเริ่มแรกมีถนนสองสายคือ ถนนนครนอก เป็นถนนเส้นนอกติดกับทะเลสาบ และถนนนครใน เป็นถนนเส้นในเมือง ต่อมามีการตัดถนนสายที่สามเรียกว่าถนนเก้าห้องหรือย่านเก้าห้อง เพื่องานสมโภชเสาหลักเมือง ต่อมาเรียกกันว่า ถนนนางงาม
ปัจจุบันถนน นครนอก ถนนนครใน และถนนนางงามยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมเอาไว้ มีห้องแถวไม้แบบจีน ตึกคลาสสิคสไตล์ชิโนโปรตุกีส ศาลเจ้าพ่อกวนอู โรงแรมนางงาม โรงแรมไม้เก่าแก่ประดับลายฉลุไม้วิจิตรบรรจง และขนมอร่อย ทั้งไทย จีน ฝรั่ง ให้เลือกชมและชิมอย่างเอร็ดอร่อย
เป็นถนนที่ประกอบไปด้วยอาคารและสถาปัตยกรรมที่งดงาม เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของชาวสงขลาผ่านมุมมองทางสถาปัตยกรรม นอกจากนั้นถนนนางงามยังเป็นแหล่งของกิน และแหล่งซื้อของฝากที่มีชื่อเสียง
อาคารบ้านเรือนย่าน ถนนนครนอก นครใน นางงาม สถาปัตยกรรมแบบชิโน - โปรตุกีส ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินเยี่ยมชม
ย่านถนนนางงาม สถานที่จัดงานหลัก เรียงรายด้วยร้านค้าของอร่อย อาคารบ้านเรือนสถาปัตยกรรมจีน (บางหลังก็ชำรุด ) ที่แสดงถึงความเก่าแก่ของเมือง
ย่านเมืองเก่าสงขลาตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง มีถนนสายสำคัญน่าเดินเที่ยว 3 สาย คือ ถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงาม เมื่ออดีตราว 200 ปีก่อน ตัวเมืองสงขลาตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ เรียกว่า "เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน" จนกระทั่งพ.ศ. 2385 จึงขยายมาทางฝั่งทิศตะวันออกบริเวณตำบลบ่อยาง เรียกกันว่า "เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง" โดยเริ่มแรกมีถนนสองสายคือ ถนนนครนอก เป็นถนนเส้นนอกติดกับทะเลสาบ และถนนนครใน เป็นถนนเส้นในเมือง ต่อมามีการตัดถนนสายที่สามเรียกว่าถนนเก้าห้องหรือย่านเก้าห้อง เพื่องานสมโภชเสาหลักเมือง ต่อมาเรียกกันว่า ถนนนางงาม
ปัจจุบันถนน นครนอก ถนนนครใน และถนนนางงามยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมเอาไว้ มีห้องแถวไม้แบบจีน ตึกคลาสสิคสไตล์ชิโนโปรตุกีส ศาลเจ้าพ่อกวนอู โรงแรมนางงาม โรงแรมไม้เก่าแก่ประดับลายฉลุไม้วิจิตรบรรจง และขนมอร่อย ทั้งไทย จีน ฝรั่ง ให้เลือกชมและชิมอย่างเอร็ดอร่อย
เป็นถนนที่ประกอบไปด้วยอาคารและสถาปัตยกรรมที่งดงาม เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของชาวสงขลาผ่านมุมมองทางสถาปัตยกรรม นอกจากนั้นถนนนางงามยังเป็นแหล่งของกิน และแหล่งซื้อของฝากที่มีชื่อเสียง
ย้อนรอยวันวาน บนถนนคนเดิน "เมืองสงขลาแต่แรก"
อาคารบ้านเรือนย่าน ถนนนครนอก นครใน นางงาม สถาปัตยกรรมแบบชิโน - โปรตุกีส ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินเยี่ยมชม
ย่านถนนนางงาม สถานที่จัดงานหลัก เรียงรายด้วยร้านค้าของอร่อย อาคารบ้านเรือนสถาปัตยกรรมจีน (บางหลังก็ชำรุด ) ที่แสดงถึงความเก่าแก่ของเมือง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)